วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ราชาศัพท์ที่ควรรู้

ราชาศัพท์
.....คำราชาศัพท์ ความหมายของคำราชาศัพท์ตามรูปศัพท์ หมายถึงหลวง หรือ ศัพท์ราชการ ใช้แก่บุคคลที่ควรเคารพนับถือตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ ตลอดจนข้าราชการและบุคคลสามัญทั่วไปด้วย ดังนั้น "ราชาศัพท์ก็คือระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล" เป็นถ้อยคำที่เราใช้ยกย่องเชิดชูบุคคลผู้เจริญด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ หรือเป็นการแสดงความเคารพนับถือ เช่น ต่อพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต่อเทพเจ้าและต่อพระเป็นเจ้าแม้ในศาสนาอื่นๆเพื่อความเป็นระเบียบทางภาษาของเรานั้นเอง
๑ ที่มาของราชาศัพท์ 
.....๑.๑ คำไทย (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำไทย)
.....๑.๒ คำประสม (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม)
.....๑.๓ คำยืมจากภาษาอื่น (คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาอื่น)

๑.๑ คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำไทย
.....มีวิธีการดังนี้
.....๑ ให้นำคำ "พระ" หรือ "พระราช" นำหน้านาม เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น
.....ประเภทเครื่องใช้ทั่วไป เช่น พระราชวัง(บ้าน)พระแสง(ศาสตราวุธ)พระอู่(เปล)พระที่นั่ง(เรือน)พระเก้าอี้ พระแท่น(เตียง)พระที่(ที่นอน)พระยี่ภู่(ที่นอน,ที่นั่ง,ฟูก,นวม) เป็นต้น
.....ประเภทอวัยวะต่างๆ เช่น พระเจ้า(ศีรษะเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)พระรากขวัญ(ไหปลาร้า)พระถัน, พระเต้า(นม) เป็นต้น
.....ประเภทเครือญาติ เช่น พระพี่นาง พระน้องนาง พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าพี่ยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลุง พระเจ้าอา เป็นต้น
.....ประเภทบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศื เช่น พระพี่เลี้ยง พระนม เป็นต้น
.....๒ ใช้ "ทรง" นำหน้าคำกริยาสามัญที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงรับ ทรงทำ ทรงขอบใจ ทรงเชื่อ ทรงเก็บ ทรงตัดสิน ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงสั่งสอน ทรงออกกำลังกาย ทรงเล่นกีฬา ทรงขับ(รถยนต์) ทรงถือ ทรงจับ ทรงวาด เป็นต้น
.....๓ ใช้ "ทร" นำหน้าคำนามที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยา เช่น ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงช้า(ขี่ช้าง) ทรงเรือใบ(เล่นเรือใบ) เป็นต้น
.....๔ ใช้คำ "ต้น" หรือ "หลวง" ประกอบข้างท้ายคำไทย หรือราชาศัพท์ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น รถหลวง เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น
.....๑.๒ คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม การนำคำที่มีใช้กันอยู่แล้วในภาษาประสมกันทำให้เกิดเป็นคำใหม่เพิ่มขึ้น นับเป็นวิธีหนึ่งของการสร้างคำขึ้นใหม่ การสร้างคำราชาศัพท์วิธีหนึ่งก็ใช้การนำคำที่มีอยู่แล้วมาประสมกันเช่นเดียวกัน คำที่นำมาประสมกันนั้น อาจเป็นคำไทยประสมกับคำไทย หรือ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น
.....๑ คำไทยประสมกับคำไทย เช่น รับสั่ง ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น
๒ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นคำราชาศัพท์ คำที่เกิดขึ้นใหม่จะใช้เป็นคำนามและคำกริยา เช่น
.....๑ ใช้เป็นคำนาม เช่น ห้องเครื่อง(ครัว) เครื่องคาว(ของกิน,กับข้าว) เครื่องหวาน(ของหวาน) เครื่องว่าง(ของว่าง) เครื่องสูง เครื่องต้น(เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์,สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย) ริมพระโอษฐ์ เส้นพระเกษา ข้อพระกร ฝ่าพระบาท ห้องพระสำอาง รัดพระองค์(เข็มขัด) ดวงพระชะตา พานพระศรี(พานหมาก)
.....๒ ลายพระราชหัตถ์ (จดหมายที่เขียนด้วยมือ)
ใช้เป็นคำกริยา เช่น เทียบเครื่อง(ชิมอาหาร) ตั้งเครื่อง(ตั้งของรับประทาน) ลาดพระที่(ปูที่นอน) เฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท(ไปหาไปพบ) หายพระทัย(หายใจ) ขอบพระทัย สนพระทัย ทอดพระเนตร เข้าในที่พระบรรทม สิ้นพระชนม์ เอาพระทัยใส่ ลงพระปรมาภิไธย(ลงชื่อ) แย้มพระโอษฐ์(ยิ้ม) เป็นต้น
.....๑.๓ คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษา อื่น ภาษาต่างประเทศที่เรารับมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ ได้แก่ ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมร โดยวิธี - เติมคำ "พระ" หรือ "พระราช" เข้าข้างหน้าคำภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็น คำนาม - เติมคำ "ทรง" หรือ "ทรงพระ" เข้าข้างหน้าภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็นคำกริยาส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ยืมภาษามลายู ภาษาชวา แต่มีน้อยคำ 
๔. วิธีใช้ราชาศัพท์
.....การใช้ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ มีวิธีการใช้ดังนี้
..........๔.๑ ใช้เป็นราชาศัพท์ได้ทันที เช่น ประทาน ผนวช ทูล ถวาย ประทับ เสด็จ บรรทม ประชวร สวรรคต พิโรธ เป็นต้น
..........๔.๒ ใช้คำ " พระบรม " หรือ " พระบรมราช " นำหน้าคำนามที่สำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการเชิดชูพระเกียรติยศ เช่น พระบรมราชินี   พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมโอรสาธิราช พระบรมราโชวาท พระปรมภิไธย พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชโองการ พระบรมราชานุญาต ฯลฯ
..........๔.๓ ใช้คำ " พระราช " นำหน้าคำที่มีความสำคัญน้อยกว่าคำที่กล่าวมาในข้อ ๒ เช่น คำนามที่แสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น    พระราชวงศ์ พระราชบิดา พระราชชนนี พระราชโอรส พระราชธิดา ฯลฯ
..........คำนามทั่วๆ ไปที่มีความสำคัญรองลงมาตลอดจนอาการนามต่างๆ เช่น พระราชวังบางประอิน พระราชเสาวนีย์ พระราโชวาท   พระราชปฏิสันถาร พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา พระราชประเพณี พระราชโทรเลข พระราชพิธี พระราชกุศล พระราชดำริ พระราชประสงค์   พระราชปรารภ พระราชานุเคราะห์ ฯลฯ
..........๔.๔ ใช้คำ " พระ " นำหน้าคำนามทั่วๆไปที่เกี่ยวข้องกับ
.....เครื่องใช้ทั่วๆ ไป เช่น พระที่ พระแท่นบรรทม พระฉาย พระสุคนธ์ พระอู่ ฯลฯ
.....อวัยวะส่วนต่างๆ เช่น พระพักตร์ พระศอ พระกรรณ พระหัตถ์ พระกร ฯลฯ
.....นามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระโรค พระโชค พระเคราะห์ พระบารมี พระชะตา ฯลฯ
.....บุคคลแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ เช่น พระนม พระพี่เลี้ยง พระสหาย พระอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ (ผู้บวชใหม่)
พระกรรมาจาจารย์ (คู่สวด) ฯลฯ
...........๔.๕ ใช้คำธรรมดาที่บอกลักษณะย่อยๆ ให้ชัดเจนไว้หน้าคำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น
.....ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา
.....ขอบพระเนตร " ขอบตา
.....ช่องพระนาสิก " ช่องจมูก
.....ฝ่าพระหัตถ์ " ฝ่ามือ
.....หลังพระชงฆ์ " น่อง
.....ฉลองพระหัตถ์ " ช้อน
.....ถุงพระบาท " ถุงเท้า
.....ห้องพระสำอาง " ห้องแต่งตัว, ห้องสุขา
.....ซับพระองค์ " ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ
..........๔.๖ ใช้คำ " ทรงพระ " หรือ " ทรงพระราช " นำหน้าคำนามทั่วไป และคำนามราชาศัพท์ เพื่อทำให้เป็นคำกริยา เช่น
.....ทรงพระเมตตา หมายถึง มีเมตตา
.....ทรงพระอุตสาหะ " มีอุตสาหะ
.....ทรงพระดำริ " มีดำริ
.....ทรงพระประชวร " ป่วย
.....ทรงพระกรุณา " กรุณา
.....ทรงพระพิโรธ " โกรธ
.....ทรงพระสรวล " หัวเราะ
.....ทรงพระราชนิพนธ์ " แต่งหนังสือ
.....ทรงพระราชสมภพ " เกิด ฯลฯ
..........๔.๗ ใช้คำ " ทรง " นำหน้าคำธรรมดาเพื่อให้เป็นราชาศัพท์ เช่น
......๑. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำกริยาสามัญที่เป็นคำไทย เพื่อทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงขอ ทรงรับ ทรงตัดสิน  ทรงเชื่อ ทรงเก็บ ทรงวาด ทรงถือ ทรงพับ ทรงใช้ ทรงจุด (ธูปเทียน) ฯลฯ
......๒. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำนามที่เป็นคำไทย เพื่อใช้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงช้าง ทรงเรือ ทรงม้า ทรงเรือใบ ฯลฯ
......๓. ใช้ " ทรง " นำหน้าคำนามที่มีลักษณะเป็นสำนวน ทำให้มีความหมายต่างไปจากเดิม เช่น
.....ทรงธรรม หมายถึง ฟังเทศน์
.....ทรงบาตร " ตักบาตร
.....ทรงกล้อง " สูบกล้อง
.....ทรงพระโอรสมวน " สูบบุหรี่
.....ทรงฉลองพระเนตร " สวมแว่นตา
.....ทรงเครื่อง " แต่งตัว
.....ทรงเครื่องใหญ่ " ตัดผม
.....ทรงเครื่องใหญ่ " ถือไม้เท้า ฯลฯ
..........๔.๘ ใช้คำ " หลวง " และ " ต้น " ประกอบท้ายศัพท์ทั้งที่เป็นคำไทยและคำราชาศัพท์ให้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น 
.....เครื่องต้น (เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์, สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงให้และเสวย) พระแสงปืนต้น เรือหลวง รถหลวง ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น ฯลฯ
.....***หมายเหตุ*** การใช้ " ต้น " และ " หลวง " นั้นต้องสังเกต เพราะคำที่มี " ต้น " และ " หลวง " ประกอบอยู่ด้วยไม่ใช่คำราชาศัพ์ ทุกคำใช้เป็นคำธรรมดาก็มี เช่น ถนนหลวง ทะเลหลวง สนามหลวง ภรรยาหลวง ต้นห้อง ต้นเค้า ต้นคอ ต้นคิด เป็นต้น
๕. การจำแนกคำที่ใช้ในราชาศัพท์
.....คำที่กำหนดใช้เป็นราชาศัพท์ มีทั้งคำนาม คำสรรพนาม กริยา และวิเศษณ์
..........๕.๑ คำนาม แบ่งออกเป็น สามานยนาม วิสามานยนาม และลักษณนาม
.....๑. สามานยนาม ได้แก่ นามทั่วไปเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เครื่องใช้และเครือญาติต่างๆ ดังรายละเอียดที่กล่าวมาแล้ว
.....๒. วิสามานยนาม ได้แก่ คำนามเฉพาะที่เป็นพระนามเดิมหรือนามเดิม และที่เป็นพระราชทินนามหรือราชทินนาม คำนามเฉพาะ หรือชื่อเฉพาะนี้จะมีคำนำหน้านาม เช่น สมเด็จพระเจ้า พระองค์เจ้า ฯลฯ นำหน้าชื่อเฉพาะ
.....ตัวอย่างเช่น สมเด็จพระนเรศวร " สมเด็จพระ " เป็นคำสามานยนามนำหน้าวิสามานยนาม " นเรศวร " หรือ พ่อขุนรามคำแหง    " พ่อขุน " เป็นคำสามานยนามนำหน้าวิสามานยนาม " รามคำแหง " เป็นต้น การศึกษาเรื่องของวิสามานยนามราชาศัพท์ให้เข้าใจ    จะต้องศึกษาคำสามานยนามที่นำหน้าชื่อเฉพาะเหล่านั้นด้วย ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
.....๑.) วิสามานยนามที่เป็นนามเดิมชั้นเจ้านาย ได้แก่
ก. วิสามานยนามที่มีคำนำหน้าชื่อแสดงเครือญาติ หรือ ตำแหน่งพระบรมวาศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  (พระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนตั้งแต่พระเจ้าอาขึ้นไปที่เป็นเจ้าฟ้า) พระเจ้าพี่ยาเธอ พระเจ้าพี่นางเธอ ฯลฯ   กำกับไว้ข้างหน้า
.....๒.) วิสามานยนามที่เป็นราชทินนาม ราชทินนาม คือ นามที่พระราชทาน หรือ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากระทรวงตั้ง จะมีคำบอก  ตำแหน่งชั้นกรม ซึ่งมีอยู่ ๕ ตำแหน่ง
คือ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมพระยา นำหน้าพระนามกรม เช่น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมนครสวรรค์วรพินิต เป็นต้น เจ้านายที่ทรงกรม มีชั้นเจ้าฟ้ากับพระองค์เจ้า เท่านั้น
๓. ลักษณนาม ใช้ลักษณนามราชาศัพท์กับพระมหากษัตริย์และเจ้านายเท่านั้น ใช้ลักษณนาม พระองค์ กับ องค์ เช่น พระราชธิดา ๒ พระองค์   พระที่นั่ง ๒ องค์ เป็นต้น
..........๕.๒ คำสรรพนาม ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามราชาศัพท์ มีเฉพาะบุรุษสรรพนามชนิดเดียวจะใช้คำใด จะต้องคำนึงถึงฐานนันดรและเพศของ
.....บุรุษที่ ๑ (ผู้พูด) บุรุษที่ ๒ (ผู้ที่เราพูดด้วย) และบุรุษที่ ๓ (ผู้ที่เราพูดถึง) เช่น
.....บุรุษที่ ๑ ได้แก่ ข้าพระพุทธเจ้า เกล้ากระหม่อม หม่อมฉัน อาตมาภาพ ฯลฯ
.....บุรุษที่ ๒ ได้แก่ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท ใต้ฝ่าพระบาท ฯลฯ
.....บุรุษที่ ๓ ได้แก่ พระองค์ เสด็จ ท่าน ฯลฯ
..........๕.๓ คำกริยา คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์ มีทั้งคำกริยาที่กำหนดขึ้นเป็นราชาศัพท์โดยเฉพาะ เช่น ผนวช ประทับ เสด็จ สรง ฯลฯ กำกับที่แต่งขึ้น ใหม่ด้วยการใช้คำ " ทรง " " ทรงพระ " และ " ทรงพระราช " นำหน้าคำนามหรือคำกริยาที่มีใช้อยู่แล้วทั้งเป็นคำไทย และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ทรงขอบใจ ทรงเล่าเรียน ทรงพระสรวล ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้น
..........๕.๔ คำวิเศษณ์ ที่ใช้เป็นราชาศัพท์ ได้แก่ คำขานรับ เช่น เพคะ พ่ะย่ะค่ะ พระพุทธเจ้าข้า กระหม่อม ฯลฯ
แตกต่างไปตามเพศและฐานันดรของผู้พูดและผู้ฟัง
.....คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องใช้คำว่า " ทรง " นำหน้า เช่น
..........ตรัส เสวย สรง บรรทม
..........กริ้ว โปรด พระราชทาน ประสูติ
.....ราชาศัพท์ทั่วไปที่มักปรากฏในข้อสอบเช้ามหาวิทยาลัย
..........ภาพวาด = พระสาทิสลักษณ์
..........ภาพถ่าย = พระฉายาลักษณ์
..........รูปปั้น  =   พระรูป
.....แสดงต่อหน้า ให้ใช้ว่า แสดงเฉพาะพระพักตร์ ห้ามใช้ว่า แสดงหน้าพระที่นั่ง
 คำถามเกี่ยวกับการบังคมทูล
..........การกราบบังคมทูลว่าสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสนองพระมหากรุณาธิคุณได้ จะใช้ว่า " ข้าพระพุทธเจ้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม "
..........ถ้าเป็นการปฏิเสธในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะใช้ว่า " หามิได้ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม "
คำว่า " กราบบังคมทูลพระกรุณา " ใช้ได้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ไม่ใช่คำนี้จะใช้ว่า   " กราบบังคมทูล "
..........คำว่า " พระบรมราชวโรกาส " สื่อมวลชนใช้ผิดกันมาก เช่น ใช้ว่า *ในพระบรมราชวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา* ในพระบรมราชวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ เช่นนี้ไม่ถูกต้อง พระบรมราชวโรกาสจะใช้เมื่อเป็นการขอโอกาส เช่น* " ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส   เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท " " ขอพระราชทานน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย "
..........คำว่า ทูล ใน ทูลเกล้าทูลกระหม่อมนั้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้ทูล พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร รับสั่งว่าโบราณได้กำหนดคำว่าไว้ต่างกัน คือ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม และ ทูลเกล้าทูลเกล้าทูลกระหม่อม คำว่า ทูล หมายถึง การยกขึ้นทูลหัว ฉะนั้น ควรใช้ ทูล ส่วน ทูน เป็นคำภาษาเขมร แปลว่า บอก ภาษาไทยของเรามีคำว่า ทูล หมายถึง และให้ความหมายที่ถูกต้องแล้ว ก้ไม่จำเป็น จะต้องยืมคำเขมรมาใช้ อย่างไร ก็ตามมติของคณะรัฐมนตรีมีว่าให้ใช้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน ฉะนั้น จึงต้องใช้ว่า " ทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย "
..........คำกริยาราชาศัพท์ที่มีคำว่า ทรง นั้นมีอยู่หลายคำ เช่น ทรงพระประชวร เป็นการนำคำว่า ประชวร ซึ่งเป็นคำกริยาราชาศัพท์ หมายความว่า
                เจ็บป่วย มาทำให้เป็นอาการนามเป็น พระประชวร แล้วเติม ทรง ข้างหน้าเป็น ทรงพระประชวร ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เท่านั้น ถ้าเป็นพระราชวงศ์อื่นๆ ใช้ว่า ประชวร หรือ ไม่ทรงสบาย ถ้าจะพูดว่า " หายแล้ว " ใช้ว่า ทรงสบายขึ้น หรือ ทรงพระสำราญดีแล้ว ส่วน คำว่า ทรงพระประธม หมายถึง ห้องนอน ทรงพระสรวล หมายถึง หัวเราะ ใช้ได้ทั่วไป
..........ถ้าคำว่า ทรง ตามหลังคำบางคำ หมายความว่า เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เพิ่มเข้าไปเพื่อให้มีความหมายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในขณะนั้น
..........ทรงเป็นองค์ประธาน ไม่ควรใช้ ทรงเป็น ใช้นำหน้าคำที่ไม่ใช่ราชาศัพท์ เช่น ทรงเป็นอาจารย์ส่วนองค์ประธาน ได้ทำให้กลายเป็นราชาศัพท์ แล้ว จึงใช้ ทรงเป็น นำหน้าไม่ได้ ควรใช้ว่า เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน
..........พระราชอาคันตุกะ ใช้เมื่อกล่าวถึงแขกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งมาจากต่างประเทศ ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น แขกของคนสามัญใช้ว่า อาคันตุกะ เช่น ทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดี ในปัจจุบันไม่ใช้ราชอาคันตุกะ ในกรณีที่เป็นแขกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์อีกต่อไป
..........ผู้ที่มีหน้าที่ต้อนรับแขกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ถ้าแขกผู้นั้นเป็นกษัตริย์จะใช้ว่า รับเสด็จฯ ถ้าเป็นเจ้านาย ใข้ว่า รับเสด็จ คำว่า ถวายการต้อนรับ เป็นคำที่ใช้ผิดจนยากจะแก้ใข ถ้าแขกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้กลายเป็นเจ้านาย ใช้ว่า ต้อนรับ
..........เครื่องสักการะ หมายถึง เครื่องสักการะของพระเจ้าอยู่หัว สื่อมวลชนมักใช้ผิด เช่น " นายกรัฐมนตรี นำเครื่องราชสักการะไปถวายบังคม พระบรมฉายาลักษณ์ " ที่ถูกในประโยคนี้ต้องใช้ว่า เครื่องสักการะ
..........คำว่า เสด็จ ที่ใช้เป็นนาม เป็นคำเรียกเจ้านายนั้น จะใช้แก่พระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสธิดาพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น จะใช้กับพระองค์ที่เป็น หลานพระเจ้าแผ่นดินนั้นไม่ได้
..........มหาราชินี หมายถึง ราชินีผู้ปกครองประเทศเท่านั้น เช่น แคทเธอรีนมหาราชินี ตำแหน่งสูงสุดของพระมเหสี คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
..........การยกพระบรมราโชวาทมาอ้างถีงนั้น ในตอนท้าย บางคนใช้ว่า " พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว " หรือ " พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน " นับว่าเป็นการใช้ภาษาเยิ่นเย้อ คำว่า พระบรมราโชวาท ใช้ได้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ใช้แก่คนอื่นไม่ได้ถ้าใช้ พระราโชวาท ใช้ได้แก่หลายพระองค์จึงต้องระบุให้แน่ชัด เช่น พระราโชวาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราโชวาท สมเด็จพระบรมราชชนนี ถ้าเป็นพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ไม่มีพระองค์อยู่ในปัจจุบัน จะใช้ว่า พระบรมราโชวาทในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
...........การออกพระนามเจ้านายชั้นสูงบางคนใช้ผิด คือ ใช้ย่นย่อเกินไป เช่น หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวว่า " พระเทพ... " ดังนี้เป็นการไม่สมควร ที่ถูกต้อง ควรออกพระนามเต็ม เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ
...........อักษรย่อ ป.ร. เช่น ภ.ป.ร. ย่อมาจากคำว่า ปรม + ราชาธิราช คำนี้มาจากต่างประเทศ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงติดต่อกับต่างประเทศ ทรงสังเกตเห็นว่าพระนามพระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศมักมี Rex หมายถึง พระราชาธิบดีต่อท้ายพระนาม จึงได้ทรงนำอักษรย่อ ป.ร. มาใช้ เช่น พระนาม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้อักษรย่อว่า ภ.ป.ร. ย่อมาจาก ภูมิพลอดุลยเดชปรมราชาธิราช และใช้คำว่า ปรมินทร ปรเมนทร นำหน้าพระนาม
พระเจ้าแผ่นดินด้วย เช่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมา ภิไธยวชิราวุธ ร อักษร ร. ย่อมาจาก คำว่า รามาธิบดี พระนามของพระองค์ท่านคือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าพระนามพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหา... ทั้งสิน ต่อมาให้รัชกาล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกลับมาใช้คำว่า ปรมินทร ปรเมนทร ตามเดิม
..........คำว่า พระปรมาภิไธย หมายถึง ชื่อที่ได้รับการแต่งตั้ง จารึกลงในสุพรรณบัฏ เช่น พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ภ.ป.ร.
..........พระบรมนามาภิไธย หมายถึง ชื่อตัว เช่น ภูมิพลอุดลยเดช ถ้าใช้ว่า ทรงลงพระบรนามาภิไธย ย่อจะหมายถึงเมื่อทรงลงอักษรย่อพระนามว่า ภ.อ.
..........พระราชสมัญญา หมายถึง ชื่อเล่น เช่น ขุนหลวงท้ายสระ ขุนหลวงหาวัด
..........อีกคำหนึ่งที่ใช้ผิดจนยากจะแก้ไข คือ กาที่คนสามัญถวายพระพรชัย หรือถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่โบราณมาถือกัน ว่าพระภิกษุเท่านั้นจึงจะถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวได้เพราะถือว่าเป็นผู้ทรงศีล คนสามัญใช้ ถวายชัยมงคล
..........ไปเยี่ยม เป็นราชาศัพท์ใช้ว่า เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม หรือ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยม ก็ได้ เสด็จพระราชดำเนิน หมายความว่า ไป เช่น เสด็จ พระราชดำเนินโดยลาดพระบาท ทรงพระดำเนิน หมายถึงว่า เดิน (ไม่ต้องใช้ว่า ทรงพระดำเนินด้วยพระบาท)
..........ถ้าพระราชวงศ์หลายพระองค์ซึ่งดำรงพระยศต่างกัน ทำกริยา " ไป " พร้อมกัน จะใช้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
.....  เทิดทูนพระเกียรติ ใช้เป็นราชาศัพท์ได้
..........การกล่าวถึงความจงรักภักดีที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควรใช้ว่า มีความจงรักภักดี หรือ แสดงความจงรักภักดี ไม่ใช้ว่า ถวายความจงรักภักดี
..........ข้อความ " โครงการอนุรักษ์มรดกไทย ภายใต้ร่มพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ " ไม่ถูกต้อง เปลี่ยนเป็น ร่มพระบารมี พอจะใช้ได้
..........คำว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ใช้แก่พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นไป พระราชวงศ์ชั้นรอง ลงมา ใช้ว่า ทรงพระกรุณา
..........คำว่า รับเสด็จ และ เข้าเฝ้า นั้นใช้แก่พระราชตั้งแต่ชั้นพระเจ้าลูกเธอลงมา ถ้าพระอิสริยศักดิ์สูงกว่านั้น ใช้ว่า รับเสด็จฯ และ เข้าเฝ้าฯ ซึ่งย่อมาจาก รับเสด็จพระราชดำเนิน และ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท หรือ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท ตามลำดับ
..........มีพระราชดำรัส มีพระราชกระแส แปลว่า พูด ใช้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรม ราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี
..........รับสั่ง แปลว่า พูด ใช้แก่พระราชวงศ์ทั่วไป
..........มีพระราชเสาวนีย์ หรือ มีพระเสาวนีย์ แปลว่า สั่ง ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และสมเด็จพระบรมราชชนนี
..........มีพระราชบัญชา แปลว่า สั่ง ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชกุมารี
..........มีพระราชดำรัส สั่ง ใช้แก่สมเด็จพระยุพราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารี 

ระดับของภาษา

ระดับของภาษาและคำราชาศัพท์
ระดับภาษาแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ภาษาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
.....๑ ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาแบบนี้ใช้ในโอกาสคัญๆ ทั้งที่เป็นพิธีการ เช่น ในงานราชพิธีและในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่น การกล่าวเปิดการประชุมต่างๆ การกล่าวคำปราศรัย และการประกาศ เป็นต้น ภาษาแบบเป็นทางการอาจจัดเป็น ๒ ระดับคือ ภาษาระดับพิธีการ และภาษาระดับมาตรฐานราชการหรือภาษาระดับทางการ
.....๑.๑ ภาษาระดับพิธีการ มีลักษณะเป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบและมีรูปประโยคความซ้อนให้ความหมายขายค่อนข้างมาก ถ้อยคำที่ใช้ก็เป็นภาษาระดับสูง จึงงดงามไพเราะและประณีต ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากใช้ในโอกาสสำคัญ เช่น ในงานพระราชพิธีแล้ว ภาษาระดับพิธีการยังใช้ในวรรณกรรมชั้นสูงอีกด้วย ดังตัวอย่างจากคำประกาศในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าดังนี้
"ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช จงคุ้มครองประเทศชาติและประชาชาวไทยให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทว์พิบัติทั้งปวง อริราชศัตรูภาบนอกอย่าล่วงเข้าทำอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาลภายในให้วอดวายพ่ายแพ้ภัยตัว บันดาลความสุขความมั่นคงให้บังเกิดทั่วภูมิมณฑล บันดาลความร่มเย็น
แก่อเนกนิกรชนครบคามเขตขอบขัณฑสีมา"
(ภาวาส บุนนาค,"ราชาภิสดุดี." ในวรรณลักษณวิจารณ์เล่ม ๒ หน้า ๑๕๙.)
.....๑.๒ ภาษาระดับมาตรฐานราชการ แม้ภาษาระดับนี้จะไม่อลังการเท่าภาษาระดับพิธีการ แต่ก็เป็นภาษาระดับสูงที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบและถูกหลักไวยากรณ์ มีความชัดเจน สละสลวย สุภาพ ผู้ใช้ภาษาจึงต้องใช้รายละเอียดประณีตและระมัดระวัง ต้องมีการร่าง แก้ไข และเรียบเรียงไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการในการกล่าวคำปราศรัย การกล่าวเปิดการประชุม การกล่าวคำประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ยังใช้ในการเขียนผลงานวิชาการ เรียงความ บทความวิชาการ หนังสือราชการ และคำนำหนังสือต่างๆ เป็นต้น
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างภาษาระดับมาตรฐานราชการในบทความวิชาการ
"บทละครไทยเป็นอีกรูปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมไทย บทละครของไทยเป็นวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นทั้งเพื่ออ่านและเพื่อแสดง รูปแบบที่นิยมกันมาแต่เดิมคือบทละครรำ ต่อมามีการปรับปรุงละครรำให้ทันสมัยขึ้นตามความนิยมแบบตะวันตก จึงมีรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับรูปแบบละครจากตะวันตกมาดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย ทำให้การละครไทยพัฒนาขึ้น โดยมีกระ บวนการแสคงที่แตกต่างไปจากละครไทยที่มีอยู่ มาเป็นละครร้อง ละครพูด และละครสังคีต"
(กันยรัตน์ สมิตะพันทุ, "การพัฒนาตัวละครในบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว."ในบท ความ วิชาการ ๒๐ ปี ภาควิชาภาษาไทย,หน้า ๑๕๘.)
.....๒ ภาษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามารถจัดเป็น ๓ ระดับ     คือภาษากึ่งทางการ ภาษาระดับกึ่งทางกลาง ภาษาระดับสนทนา และภาษากันเองหรือภาษาปาก
.....๒.๑ ภาษาระดับกึ่งทางราชการ มีลักษณะที่ยังคงความสุภาพอยู่ แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ระมัดระวังมากเท่า
การใช้ภาษาเป็นทางการ เพราะอาจใช้รูปประโยคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้เป็นระดับสามัญ บางครั้งมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปะปนด้วย ภาษาระดับกึ่งทางการในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน และใช้ในการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนต้องให้อ่ารู้สึกหมือนกำลังฟังผู้เขียนเล่าเรื่องหรือเสนอความคิดเห็น
อย่างไม่เคร่งเครียด เช่น การเขียนสารคดีท่องบทความแสดงความคิดเห็น หรือการเล่าเรื่องต่างๆ เช่น
ชีวประวัติ เป็นต้น
ตัวอย่างภาษาระดับกึ่งทางการในบทความแสดงความคิดเห็น
                "ฉะนั้นในช่วงเรียนอยู่ในระดับมัธยม ผู้ที่มีความขยันมุ่งมั่นจะเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้จะไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบกายทั้งสิ้น ยกเว้นสิ่งที่เขาคิดว่าจะสามารถทำให้เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ชีวิตนักเรียนมัธยมจึงมีแต่ติวติวและติว กีฬาฉันไม่เล่น กิจกรรมฉันไม่มีเวลาทำ และยิ่งห้องสมุดฉันไม่ทราบว่าจะเข้าไปทำไม เพราะเวลาทั้งหมดจะต้องใช้ท่องตำราอย่างเดียว แล้วก็มักจะประสบความสำเร็จตามที่คิดเสียด้วย คือสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้"
(เปล่งศรี อิงคนินันท์,"ต้องขอให้อาจารย์ช่วย",ก้าวไกล ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔, หน้า ๒๗.)
.....๒.๒ ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะของภาษาพูดที่เป็นกลางๆ สำหรับใช้ในการสนทนากันในชีวิตประจำวัน ระหว่างผู้ส่งสารที่รู้จักคุ้นเคยกัน นอกจากนั้นยังใช้ในการเจรจาซื้อขายทั่วไป รวมทั้งในการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะรูปประโยคไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับคำที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่ แต่ตามปรกติจะ
ไม่ใช้คำหยาบ ภาษาระดับสนทนาใช้ในการเขียนนวนิยาย บทความบทภาพยนตร์สารคดีบางเรื่อง และรายงานข่าว เป็นต้น
                ตัวอย่างภาษาระดับสนทนาในข่าว
                "จากกรณีที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิดังแห่งวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาได้อาพาธ
ลงอย่างกะทันหัน มีอาการอ่อนเพลียอย่างหนักเนื่องจากต้องตรากตรำทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลและเคาะหัว
ให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์จนไม่มีเวลาพักผ่อน เกิดอาการหน้ามืดจนกระทั่งลูกศิษย์ต้องหามส่งโรงพยาบาลมหาราช นายแพทย์เจ้าของไข้ได้ตรวจร่างกายแล้วแจ้งให้ทราบว่าเป็นไข้หวัด"
(เดลินิวส์,๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙.)
.....๒.๓ ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง หรือในครอบครัว และมักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือในการทะเลาะด่าทอทอกัน ลักษณะของภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากนี้มีคำตัด คำสแลง คำต่ำ
คำหยาบ ปะปนอยู่มาก ตามปรกติจึงไม่ใช้ในการเขียนทั่วไป นอกจากในงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยาย
หรือเรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็นต้น
                ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากในนวนิยาย
"มึงจะไปไหน ไอ้มั่น...กูสั่งให้ปล่อยมันไว้อย่างนั้น ไม่ต้องสนใจ กูอยากนั่งดูมัน มองมันตายช้าๆ
เลือดไหลออกจนหมดตัว และหยุดหายใจในที่สุด ถึงจะสมกับความแค้นของกู"
("จราภา","นางละคร" สกุลไทย ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๒๑๖๒,หน้า ๑๐๗.)
                ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากในข่าวกีฬา
"บิ๊กจา"เตรียมเดินเครื่องวางงานกีฬายาว จะเสนอตัวเป็นคณะกรรมาธิการวุฒิสภาการกีฬาดันงบหนุนซีเกมส์,
เอเชียนเกมส์ หร้อมกับความเป็นเจ้าเหรียญทอง ส่วนสมาคมตะกร้อรับว่าแตกเป็นเสี่ยง ให้พิสูจน์กันในตะกร้อ
คิงส์คัพหนที่ ๑๒ ใครผลงานดีได้พิจารณามาทำทีมชาติ
(เดลินิวส์, ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙.) 

สำนวน สุภาษิตและคำพังเพย

สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
ความหมาย 
       ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา  ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี  เป็นคำตักเตือนสั่งสอน  และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที   โดยไม่ต้องแปลความหมาย  ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ  ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น  เช่น  ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
สำนวน
            ความหมาย ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพยเปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะ  ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง   ต้องนำไปประกอบกับบุคคล  กับเรื่อง  หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย 
            หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ  ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้
คำคม
          หมายถึง ถ้อยคำที่คิดขึ้นมาในปัจจุบันทันด่วน เป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ซึ่งสามารถเข้ากับเหตุการณ์นั้น ได้อย่างเหมาะเจาะ ทั้งยังชวนให้คิด ถ้าพูดติดปากกันต่อไปก็จะกลายเป็นสำนวนไปได้




ตัวอย่าง  สำนวน สุภาษิต คำพังเพย   เช่น

หมวด  ก

กงกำกงเกวียน  
เวรสนองเวร  กรรมสนองกรรม
กระต่ายหมายจันทร์
หวังในสิ่งที่เกินตัว 
กลมเป็นลูกมะนาว
หลบหลีกไปได้คล่องแคล่วจนจับไม่ติด  ( มักใช้ในทางไม่ดี )
กำขี้ดีกว่ากำตด
ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย 
กำแพงมีหู ประตูมีตา
การที่จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้ 
กิ่งทองใบหยก
เหมาะสมกัน  ใช้แก่หญิงกับชายที่จะแต่งงานกัน
กิ้งก่าได้ทอง
ชอบโอ้อวดในสิ่งที่ตนมีเพื่อให้ผู้อื่นรู้ เพื่อให้ผู้อื่นสนใจตน
กินบนเรือนขี้บนหลังคา
เนรคุณ  เป็นผู้ไม่รู้คุณของผู้อื่น
แกว่งตีนหาเสี้ยน
รนหาเรื่องเดือดร้อน
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับซึ่งกันและกัน


หมวด ข

ขมิ้นกับปูน
ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน , ไม่ถูกกัน
ข้าวใหม่ปลามัน
อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือดี , นิยมเรียกช่วงที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า "ข้าวใหม่ปลามัน"  
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
บอกหรือสอนแล้วไม่ได้ผล
เข็นครกขึ้นภูเขา
ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตนเอง


หมวด  ค

คมในฝัก
 ลักษณะของผู้ฉลาด  แต่นิ่งเงียบ ไม่แสดงความฉลาดนั้นออกมาโดยไม่จำเป็น มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฎ  
ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก
ความวุ่นวายเดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมีไม่รู้จบสิ้นหรือผ่านพ้นไป ความวุ่นวาย เดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาอีก  
คางคกขึ้นวอ
 คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยา อวดดีจนลืมตัว


หมวด  ง

งมเข็มในมหาสมุทร
ค้นสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยากยิ่ง
งามแต่รูปจูบไม่หอม
มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี


หมวด จ

จับปลาสองมือ
โลภมาก มักลาภหาย อยากได้หลายอย่างแต่ในที่สุดไม่ได้สักอย่างเดียว  
จับเสือมือเปล่า
แสวงหาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน


หมวด ช

ชักใบให้เรือเสีย
พูดหรือทำขวางๆ ให้การสนทนาหรือการทำงานขวางออกนอกเรื่อง
ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
ความชั่ว หรือความผิดร้ายแรงที่คนทั่วไปรู้จักกันทั่วแล้ว จะปิดยังไงก็ปิดไม่มิด  
ชิงสุกก่อนห่าม
ด่วนทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือไม่ถึงเวลา
หมวด ซ

ซื้อควายหน้านา  ซื้อผ้าหน้าตรุษ
ซื้อของไม่คำนึงถึงกาเวลา  ของที่ถูกก็ต้อง ซื้อแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา


หมวด ด

ดาบสองคม
มีทั้งคุณและโทษ , อาจดีอาจเสียก็ได้
ได้ทีขี่แพะไล่
ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำลง


หมวด ต

ตักน้ำรดหัวตอ
แนะนำพร่ำสอนเท่าไหรก็ไม่ได้ผล     
ตัดหางปล่อยวัด
ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง  ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
ตำข้าวสารกรอกหม้อ
หาเพียงแต่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ , ทำให้พอเสร็จไปชั่วครั้งหนึ่งๆ   
ตีวัวกระทบคราด
โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ไพล่ไปรังควาน    


หมวด  ถ

เถียงคำไม่ตกฟาก
พูดคำเถียงคำไม่หยุดปาก , เถียงโดยไม่ฟังเหตุผล


หมวด  ท

ทำนาบนหลังคน
ทำกินโดยเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ออกแรงทำงานนั้นๆ


หมวด น

น้ำขึ้นให้รีบตัก
มีโอกาสก็ควรรีบทำ
น้ำพึ่งเรือ  เสือพึ่งป่า
พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน