วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทักษะการเขียน 1

5. ทักษะการเขียน
- การเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง
มาตราตัวสะกดแม่ กก
หมายถึง คำที่มีพยัญชนะ      เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียงเหมือน ก สะกด เป็นคำในมาตรา แม่กก เช่น มาก เลข มารค เมฆ
มาตราตัวสะกดแม่ กด
คำที่มี               ตร  ติ  ตุ  รถ          เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียงเหมือน    สะกด เป็นคำในมาตรา แม่กด เช่น เพศ  ลิตร  เสร็จ  อิฐ  ญาติ  ก๊าซ  โกรธ  ตรุษ  เทศกาล  สัมผัส  ปัจจุบัน  ชีวิต พิเศษ  ประเภท ผลิต ประโยชน์ มงกุฎ  สามารถ  วัฒนธรรม  เกษตรกร  เหตุ  อุตสาหกรรม 
มาตราตัวสะกดแม่ กบ
หมายถึง คำที่มีพยัญชนะ          เป็นตัวสะกด  อ่านออกเสียงเหมือน    สะกด เป็นคำในมาตร แม่กบ  เช่น ลาบ พิลาป  ลาภ  ภาพ
มาตราตัวสะกดแม่ กน
หมายถึง คำที่มีพยัญชนะ            เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียงเหมือน    สะกด เป็นคำในมาตร แม่กน เช่น กัญชร กัน กัณฑ์ กัลป์ กาฬ การ
ไม้ทัณฑฆาต
เรียกว่าเครื่องหมายทัณฑฆาต วางไว้บนตัวอักษรที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง เรียกตัวอักษรนั้นว่า ตัวการันต์ ตัวการันต์อาจมีหนึ่งตัว สองตัว หรือสามตัวก็ได้ เช่น
ฤทธิ์                    เป็นพยัญชนะการันต์ตัวเดียว
จันทร์                  เป็นพยัญชนะการันต์สองตัว
สายสิญจน์             เป็นพยัญชนะการันต์สองตัว
พระลักษณ์             เป็นพยัญชนะการันต์สามตัว
คำที่มี รร
รร
เรียกว่า    หัน  ให้อ่านออกเสียง     แต่เมื่อพยัญชนะอื่นตามหลังพยัญชนะนั้นเป็นตัวสะกดให้อ่านออกเสียง อะ เช่น พรรค  อ่านว่า พัก  ยกเว้นพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดและมีไม้ทัณฑฆาตกำกับอยู่ ไม่อ่านออกเสียงตัวสะกด ให้อ่านออกเสียง อันตามเดิม  เช่น สรรค์  อ่านว่า สัน
คำควบกล้ำ
นิยามของคำควบกล้ำ คำควบกล้ำ คือ คำที่มีอักษรควบอักษรควบแต่แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
     1. อักษรควบแท้                                    2. อักษรควบไม่แท้
อักษรควบแท้  คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน พยัญชนะตัวหลังเป็นพยัญชนะ        ประสมสระเดียวกัน ออกเสียงพยัญชนะกล้ำกันหรือพร้อมกัน เช่น โกรธ กลอง กล้า ไกว ควาย ความ
อักษรควบไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่มี    ควบอยู่ด้วย และประสมสระเดียวกันแต่ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว หรือเปลี่ยนเสียงพยัญชนะเป็นเสียงอื่น โดยไม่ออกเสียง ตัว  ร เช่น 
สร้าง       อ่านว่า    สร้าง                                  แทรก      อ่านว่า     แซก
ทราบ      อ่านว่า     ซาบ                                   จริง       อ่านว่า     จิง
อักษรนำ
นิยามของคำอักษรนำ อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียวกัน มีวิธีการอ่านออกเสียง 2 อย่างคือ
     1. ออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียว ได้แก่
          - คำที่มี นำ เช่น หมอ หวาน หรู หลาน เหงา หยิบ แหวน ตัวเมื่อเป็นตัวนำหน้าอักษรเดี่ยว ( ง                  ฬ) ไม่ต้องออกเสียงเหมือนอักษรนำ (ขนม อ่านว่า ขะ-หนม) แต่ให้ออกเสียงประสมสนิทกัน เป็นเสียงเดียว
          - คำที่มี  “”  นำ มีอยู่ 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก ตัว เมื่อนำหน้าตัว ไม่ต้องออกเสียงเหมือนอักษรนำ ให้ออกเสียงทำนองเดียวกับตัว นำ
     2. ออกเสียงเป็น 2 พยางค์ พยัญชนะที่เป็นตัวนำต้องเป็นอักษรสูง หรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยวเท่านั้น เช่า สลา อ่านว่า สะ-หลา , ขยม อ่านว่า ขะ-หยม, ไถง อ่านหว่า ถะ-ไหง, สวา อ่านว่า สะ-หวา, เสมอ อ่านว่า  สะ-เหมอ , จรวด อ่านว่า จะ-หรวด 
คำพวกนี้ เวลาอ่านให้ผันวรรณยุกต์ไปตามตัวนำ แต่ถ้าตัวหน้าเป็นอักษรต่ำ หรือตัวหลังไม่ใช่อักษรเดี่ยว ก็ไม่เปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์เพียงแต่เป็นรูปอักษรนำ เท่านั้น
คำที่ไม่มีสระ อะ แต่ออกเสียง อะ
คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกับประวิสรรชนีย์ แต่ในหลักการเขียน ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ มีหลักการดังนี้
     1. คำนั้นทำหน้าที่เป็นอักษรนำ ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น ขนม ตลาด จรวด ผลึก ชวา อร่าม พนม
     2. คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียง อะอยู่ที่พยางค์หน้า เช่น มัธยม สดับ ปกรณ์ สมัคร อวตาร ปถพี
     3. คำสมาสแม้จะออกเสียง อะระหว่างคำก็ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น พลศึกษา ศิลปะศาสตร์ จิตแพทย์ อิสรภาพ รัตนตรัย
     4. คำที่มาจากภาษาภาคยุโรป เช่น อเมริกา เยอรมัน สกี สลัม เอกซเรย์ สตริง
- การใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย
ความหมายของคำมี 2 ประเภท คือ
1. ความหมายตรง หมายถึง ความหมายประจำคำตามพจนานุกรม เช่น เก้าอี้ หมายถึงที่สำหรับนั่ง
2. ความหมายโดยนัย หมายถึง ความหมายของคำนั้นที่ทำให้คิดถึงสิ่งอื่น เช่น เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
    ในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนั้นคววรคำนึงถึงเรื่องการสะกดคำให้ถูกต้อง เพราะการสะกดคำที่ต่างกัน ทำให้คำนั้นมีความหมายที่ต่างกัน เช่น กำไร กำไล ทดรอง ทดลอง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำให้ถูกต้องตามความหมายอีกด้วย เช่น ดก ชุกชุม หนาแน่น ทั้ง ๓ คำนี้ต่างก็มีความหมายว่ามาก แต่มีที่ใช้ต่างกัน คือ ดก ใช้กับ ผลไม้ ชุกชุม ใช้กับ สัตว์ และหนาแน่น ใช้กับ คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น