วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การอ่านคำประพันธ์

การอ่านคำประพันธ์
การอ่านบทร้อยกรอง การอ่านทำนองเสนาะ
                บทร้อยกรอง หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงให้เกิดความไพเราะตามระเบียบบัญญัติ แห่งฉันทลักษณ์หรือระเบียบ ที่ว่าด้วยการประพันธ์   บทร้อยกรองแต่ละชนิด จะมีลักษณะ สัมผัสบังคับแตกต่างกันตามชนิดของคำประพันธ์
การอ่านกลอนสุภาพ
     ลักษณะของกลอนสุภาพ คือ บทหนึ่งมีสี่วรรค วรรคละ ๘ พยางค์ การอ่านกลอนสุภาพ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
     กลอนสุภาพแต่ละวรรค โดยปกติให้อ่านเว้นจังหวะเป็น ๓ / ๒ / ๓ แต่ถ้าวรรคนั้นมี
๙ พยางค์ ให้อ่านเว้นจังหวะ ๓ / ๓ / ๓ และถ้าวรรคนั้นมี ๗ พยางค์ ให้อ่าน ๒ / ๒ / ๓ เป็นต้น
   หมายเหตุ   มีบทร้อยกรองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพและมีวิธีออกเสียง สูงต่ำเช่นเดียวกัน ได้แก่ กลอนสักวาและกลอนดอกสร้อย
การอ่านโคลงสี่สุภาพ
     บทประพันธ์ที่มีลักษณะเป็นโคลงสี่สุภาพมีน้อย เพราะแต่งยาก ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ ชนิดนี้ นอกจากบังคับสัมผัสแล้ว ยังมีบังคับเอกโทด้วย คือ บังคับว่าในโคลง ๑ บท ต้องมีวรรณยุกต์เอกหรือเสียงเอก ๗ ตัว และวรรณยุกต์โท หรือเสียงโท ๔ ตัว และบังคับว่า วรรณยุกต์นั้นต้องอยู่ในที่ที่กำหนดอีกด้วย
     ลักษณะของโคลงสี่สุภาพใน ๑ บท ต้องมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคหน้าทุกวรรค
มี ๕ พยางค์ ส่วนวรรคหลังกำหนด ดังนี้
     วรรคหลังบาทที่ ๑ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
     วรรคหลังบาทที่ ๒ มี ๒ พยางค์
     วรรคหลังบาทที่ ๓ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
     วรรคหลังบาทที่ ๔ มี ๔ พยางค์
     ถ้านับจำนวนคำแล้ว โคลงบทหนึ่งจะมี ๓๐ คำ หรือ ๓ พยางค์ (ไม่นับคำสร้อย ในบาท
ที่ ๑ และบาทที่ ๓ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้)

     สำหรับการใช้วรรณยุกต์เอก บางครั้งอาจใช้คำตายแทนเสียงเอกได้ เมื่อเวลาอ่าน โคลงสี่สุภาพเป็นทำนองเสนาะ จะทอดเสียงยาวระหว่างวรรคต่อวรรค หรือเอื้อนเสียงให้
ต่อเนื่องกันระหว่างวรรค

     การอ่านกาพย์
    กาพย์ที่นิยมแต่งกันแพร่หลายมีอยู่ ๓ ชนิด
คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ตัวเลขหลังชื่อกาพย์ แสดง
จำนวน คำหรือพยางค์ตามลักษณะบังคับของกาพย์แต่ละชนิด
     การอ่านกาพย์ยานี
     กาพย์ยานี ๑ บท มี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท ในแต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ (พยางค์) วรรคหลังมี ๖ คำ (พยางค์) ใน ๑ บาท
จึงมี ๑๑ คำ (พยางค์) เรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ หรือ ยานี ๑๑หรือ ๑๑ก็เรียก
     ๑. การอ่านกาพย์ยานีนิยมแบ่งวรรคเป็น ๒ / ๓ และ ๓ / ๓ ดังนี้

00 / 000
000 / 000
00 / 000

000 / 000
     ๒. ในการอ่านทำนองเสนาะ บาทโท นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติ เช่น
     การอ่านกาพย์สุรางคนางค์
     กาพย์สุรางคนางค์ ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ พยางค์ รวมบทหนึ่งมี ๒๘ พยางค์ จึงมักเรียกชื่อว่าสุรางคนางค์ ๒๘หรือบางทีก็เรียกว่า๒๘
     แผนผังบังคับของกาพย์สุรางคนางค์มีดังนี้
     ในการส่งสัมผัส มีหลักดังนี้
     พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๒
     พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๓ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๕ และ ๖
จังหวะในการอ่าน ให้อ่านวรรคละ ๒ จังหวะ ๒ พยางค์
     การอ่านกาพย์สุรางคนางค์ มีวิธีอ่าน ๓ วิธี คือ
     ๑. อ่านทำนองสามัญ
     ๒. อ่านทำนองเสนาะ
     ๓. อ่านทำนองสวด เช่น ทำนองที่ใช้อ่านหนังสือพระมาลัย
     การอ่านทำนองเสนาะและทำนองสวด ต้องฝึกหัดอ่านกับผู้รู้ หรือฟังจากต้นฉบับ
แล้วอ่านตาม จึงจะอ่านได้ถูกต้อง
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น