วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสื่อสาร

การสื่อสาร
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร
     1) บุคคล 2 ฝ่าย
     2) วิธีการติดต่อ
     3) เรื่องราวให้รับรู้ความหมายร่วมกัน
     ทั้ง 3 ส่วนนี้มิอาจขาดได้แม้แต่ส่วนเดียวมิฉะนั้นการสื่อสารไม่อาจจะเกิดขึ้นได้
 2  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
     อาจจะแบ่งได้เป็น2ส่วนคือผู้พูดและผู้ฟังหรือจะเป็นคนเล่ากับคนฟังคนแสดงกับคนดูบุคคล2ฝ่ายนี้เรียกเป็น
ทางการว่า ผู้รับสาร และ ผู้ส่งสาร
 3  สื่อ
     อาจใช้ได้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
 4. สาร การตอบสนอง
ผู้ส่งสาร
ผู้รับสื่อ
               สื่อ คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ สภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
5. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
     1)  วัจนภาษา (การพูด การเขียน)
       2)  อวัจนภาษา (เครื่องหมาย สัญญาณมือ)
                ในที่นี้เราจะกล่าวถึงอวัจนภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร อวัจนภาษา มีดังนี้
  การแสดงออกทางดวงหน้า การแสดงออกทางดวงหน้านั้นเป็นเครื่องแสดงเจตนาการสื่อสารได้หลายอย่าง เช่น ขอร้อง ขมขู่
 ท่ายืนท่านั่งและการทรงตัวสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อการรับส่งสารมากเช่นการพูดกับบุคคลที่มีความอาวุโส มากกว่าไม่ควรยืนล้วงกระเป๋า หรือเวลานั่งก็ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
 การแต่งกายควรแต่งตัวให้เหมาะสมกับกาลเทศะและสภาพแวดล้มทางสังคมโดยเฉพาะการแต่งกายนั้นควรสุภาพ เรียบร้อยเพื่อให้ผู้ที่เราสื่อสารด้วยมีความเชื่อถือ
 การเคลื่อนไหวในขณะที่พูดย่อมมีการเคลื่อนไหวบ้างเป็นธรรมดา ทั้งนี้ต้องให้เหมาะกับเนื่อหาของสารจึงจะช่วยให้เกิด การสื่อสารที่ดียิ่งขึ้น
 การใช้มือและแขนการใช้มือให้สอดคล้องกับคำพูด จะช่วยเน้นความหมายของสารที่ส่งออกไปได้มาก เช่นการบอกทิศทาง    การใช้นัยน์ตานัยน์ตาของผู้พูดสามารถแสดงอารมณ์และความรู้สึกของสารที่เล่าไปได้มากยิ่งขึ้น    การใช้น้ำเสียงคำพูดคำเดียวกัน เปล่งออกไปด้วยน้ำเสียงที่ต่างกัน จะสื่อความหมายต่างๆกันไปได้ ขึ้นอยู่กับความดังและเสียงสูง-ต่ำ    เช่น ถ้าพูดหรือเน้นคำพูดนั้นดังๆก็จะเป็นการเตือนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น