วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทักษะการพูด 2

5. ส่งสารด้วยการพูด
          การพูดมีความสำคัญกับมนุษย์เราอย่างมาก ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ประกอบกิจกรรมใด ส่วนหนึ่งของการพูดนั้นสามารถสอนและฝึกกันได้ ซึ่งการพูดที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสังเกตและการฝึกฝน (การพูดที่มีประสิทธิภาพหมายถึงการพูดที่ชัดเจน พูดได้ตรงตามความคิดของผู้พูดหรือเนื้อเรื่องที่พูด สามารถรวบรวมเนื้อหาได้ตรงประเด็น)การพูดแบ่งได้ 2 ประการ คือ การพูดระหว่างบุคคล และ การพูดในกลุ่ม
          การพูดระหว่างบุคคล
             เป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีเนื้อหาจำกัดแน่นอน ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า แต่เป็นการพูดที่ใช้มากที่สุด ใช้ในชีวิตประจำวัน การพูดชนิดนี้พอจะแยกได้ดังนี้
                 1)  การทักทายปราศรัย
          การพูดชนิดนี้เป็นการช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันทั้งผู้ที่เรารู้จักอยู่แล้วหรือผู้ที่เรายังเคยไม่รู้จัก โดยการพูดชนิดนี้ผู้พูดควรยิ้มแย้มและไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เมื่อเราทักทายผู้ที่อาวุโสมากกว่าก็ควรที่จะกล่าวคำว่า สวัสดีครับ พร้อมทั้งพนมมือไหว้ การกระทำดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดไมตรีจิตแก่กันทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
                 2)  การแนะนำตนเอง
          การแนะนำตัวเองนั้นมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน เพราะเราต้องได้พบ ได้รู้จักกับคนอื่นๆอยู่เสมอ การแนะนำตนเองมี 3 โอกาสสำคัญ ดังนี้
                  -  การแนะนำตนเองในที่สาธารณะ การแนะนำชนิดนี้ควรจะพูดจากันเล็กน้อยก่อนแล้วค่อยแนะนำตัว มิใช่ว่าจู่ๆก็แนะนำตัวขึ้นมา
                  -  การแนะนำตนเองในการทำกิจธุระ การแนะนำชนิดนี้มักจะต้องไปพบผู้ที่ยังไม่รู้จักกันซึ่งจะต้องนัดหมายไว้ล่วงหน้า ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไปให้ตรงตามเวลานัด แนะนำตนเองด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
                  -  การแนะนำตนเองในกลุ่มย่อย ควรแนะนำตนเองเพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง และสามารถคุยหรือประชุมได้อย่างสะดวกใจยิ่งขึ้น
                 3)  การสนทนา
          เป็นกิจกรรมที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น พูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ แบ่งได้ 2 แบบคือ
                  -  การสนทนาระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน การสนทนาชนิดนี้ผู้พูดไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ก็ไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของกันและกัน
                  -  การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก ควรที่จะสำรวมถ้อยคำ กิริยา มารยาท ควรจะสังเกตว่าคู่สนทนานั้นชอบพูดหรือชอบฟัง
          การพูดในกลุ่ม
             การพูดในกลุ่มนั้นเป็นกิจกรรมที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน ทั้งในชีวิตประจำวันและในการศึกษา โดยเฉพาะในการศึกษานั้นหากมีการแบ่งกลุ่มให้ทุกคนได้ช่วยกันออกความคิดเห็น ก็จะเป็นการเสริมสร้างทั้งด้านความคิด และด้านทักษะภาษา
             1)  การเล่าเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังมา
                 การเล่าเรื่องที่ตนได้อ่านหรือฟังมานั้นไม่จำเป็นต้องเล่าทุกเหตุการณ์แต่ควรเล่าแต่ประเด็นที่สำคัญๆ ภาษาที่ใช้เล่าก็ควรเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่ายๆ ใช้น้ำเสียงประกอบในการเล่าเรื่อง เช่น เน้นเสียงในตอนที่สำคัญ รวมไปถึงการใช้กริยาท่าทางประกอบตามความเหมาะสมของเรื่องที่เล่า ผู้เล่าควรเรียงลำดับเรื่องให้ถูกต้องและอาจจะสรุปเป็นข้อคิดในตอนท้ายก็ได้
             2)  การเล่าเหตุการณ์
                 ในชีวิตประจำวันของเรานั้น มักจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นได้เสมอ ในบางครั้งผู้พูดก็มีความจำเป็นที่จะต้องเล่าเหตุการณ์นั้นให้ผู้อื่นฟัง อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจ ตื่นเต้น โดยการที่จะเล่าเหตุการณ์นั้นๆให้น่าสนใจ ก็ควรที่จะเริ่มต้นด้วยการแสดงเหตุผลว่าเหตุการณ์นี้มีเรื่องที่น่าสนใจยังไง ใช้ถ้อยคำและภาษาสำนวนที่ทำให้ผู้ฟังได้เห็นภาพ เล่าเหตุการณ์ให้ต่อเนื่องกันเพื่อผู้ฟังจะได้ติดตามเรื่องได้ดี น้ำเสียงชัดเจน เน้นตอนที่สำคัญ ใช้ท่าทาง กิริยาประกอบในการเล่าด้วยเพื่อที่จะได้ดูเป็นธรรมชาติ แหละสุดท้ายควรที่จะแสดงข้อคิดเพิ่มเติมตามสมควร
4. การออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน
         พยางค์หนึ่งๆในภาษาไทยประกอบด้วยพยัญชนะสระและวรรณยุกต์ถ้าเสียงพยัญชนะสระและวรรณยุกต์เปลี่ยนไป ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้สื่อความหมายผิดพลาดได้ เรื่องนี้ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำเป็นสำคัญ ตัวอย่างการออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน

ตัวอย่าง
-                   เธอเคยเลียนรู้สิ่งที่ผิดๆ มามากแล้วคำที่ถูก ต้องออกเสียง "เรียน"  
-                   เอากระดาษนี่ไปลองเขียนในประโยคนี้ ผู้พูดต้องการให้เอากระดาษไปรองเขียน
-                   พี่(ขี้) ให้ฉันดูหน่อยประโยคนี้ ผู้พูดต้องออกเสียงคลี่ จึงจะถูกต้อง
-                   นักมวยคนนี้ ล้าง เวทีมานานถ้าผู้พูดใช้คำล้างเวทีหมายความว่านักมวยคนนี้เป็นคนทำความสะอาดเวที
มานานมากแต่ความเป็นจริงต้องออกเสียงเรื้อเวที      หมายถึง ห่างเหินจากเวทีการชกมวยไปเป็นเวลานาน
       การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสมหรือตามระดับของคำ เวลานำคำไปใช้จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของบุคคล กาลเทศะ โอกาส และความรู้สึก ระดับของภาษาแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 3 ระดับคือ
      1. ภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อความเข้าใจในกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันถ้อยคำที่ใช้ไม่ต้องพิถีพิถันกันมากนัก
      2. ภาษากึ่งแบบแผน   เป็นภาษาที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน
      3. ภาษาแบบแผน      เป็นภาษาที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าถูกต้องและประณีต มักใช้ในการพูดและเขียนที่เป็นทางการ ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับต่างๆ
                      การใช้คำให้เหมาะสม ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
      1. การใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะการใช้คำที่สุภาพหรือคำที่เหมาะสมกับบุคคลเป็นเรื่องที่คนไทยถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม
ตัวอย่าง
คำว่า "เมีย" เป็นคำสำหรับบุคคลธรรมดาและเป็นภาษาพูด ถ้าใช้เป็นภาษาเขียนก็ต้องใช้ "ภรรยา" เช่น นางอัมพรภรรยานายสนิท ถ้าเป็นภรรยาของบุคคลชั้นสูง นิยมใช้คำว่า "ภริยา" เช่น คุณหญิงสมรภริยาท่านอธิบดีสุพจน์
                คำว่า "ลูกสาว" เป็นคำสำหรับบุคคลธรรมดาและเป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนก็ใช้ว่า "บุตรสาว" หรือ "บุตรี" เช่น นางสาวสุรีย์บุตรีนางสุดถนอม ถ้าเป็นบุตรีของบุคคลชั้นสูงระดับรัฐมนตรีจะใช้คำ "ธิดา" แทน เช่น นางสาวจตรีธิดาฯพณฯสุจริต
 คำว่า "ตาย" คนธรรมดา ใช้ "ถึงแก่กรรม" พระภิกษุธรรมดา ใช้ "ถึงแก่มรณภาพ" ข้าราชการระดับอธิบดีหรือนายพล ใช้ "ถึงแก่อนิจกรรม" ข้าราชการระดับนายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรี ประธานรัฐสภา ใช้ "ถึงแก่อสัญกรรม"   นอกจากนี้ควรใช้คำที่มีระดับเสมอกัน เช่น
 สังคมได้เปลี่ยนแปรเอาความเป็นครอบครัวไปในทางเสื่อม โดยทั้งพ่อและแม่จะต้องออกทำงานเพื่อมาเลี้ยงครอบครัว ถ้าไม่ช่วยกันจะอยู่ในสังคมนี้ไม่รอด ดังนั้นความใกล้ชิด การอบรมบุตรดังแต่ก่อนจึงหาเวลายากยิ่ง
คำว่า "พ่อ" กับ "แม่" เป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ ส่วน "บุตร" เป็นคำที่เป็นทางการ ดังนั้นควรเปลี่ยนคำ "พ่อ" และ "แม่" เป็น "บิดา" และ "มารดา"    เด็กๆ ต่างหวังที่จะให้บิดามารดารักใคร่
คำว่า "เด็กๆ" ไม่สอดคล้องกับ "บิดามารดา" ควรเปลี่ยนเป็น "บุตร ธิดา"
นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในการพูดหรือเขียนที่ไม่เป็นทางการ เมื่อนำมาใช้ในภาษาที่เป็นทางการต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม เช่น
-                   ยังมีเวลาอีกตั้งเยอะแยะ  (มาก)
-                   มีนายทุนคนไหนบ้างที่ซื้อแค่เพียงความสบาย  (ใด) (เพียง)
-                    ตอนเปิดเทอมนักศึกษาส่วนใหญ่จะตื่นเต้นสนุกสนาน  (ระหว่าง, ขณะ)
-                    เราต้องนั่งอยู่คนเดียวยังงี้ต่อไป  (อย่างนี้)
      2. การใช้คำให้เหมาะสมกับความรู้สึก   คำบางคำในภาษาไทยจะแสดงความรู้สึกของผู้ใช้ภาษาได้ว่ารู้สึกเช่นใดในขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้รับสารได้เช่นกัน
                      3.การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง  ถ้าเขียนสะกดบกพร่องหรือผิด ความหมายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น