วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทักษะการฟัง

3.  ทักษะการฟัง
1. ความหมายของการฟัง
    การฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน เป็นการรับสารทางหูการได้ยินเป็นการเริ่มต้นของการฟังและเป็นเพียงการกระทบกันของเสียงกับประสาทตามปกติ จึงเป็นการใช้ความสามารถทางร่างกายโดยตรง ส่วนการฟังเป็นกระบวนการทำงานของสมองอีกหลายขั้นตอนต่อเนื่องจากการได้ยินเป็นความสามารถที่จะได้รับรู้สิ่งที่ได้ยิน ตีความและจับความสิ่งที่รับรู้นั้นเข้าใจและจดจำไว้ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
2. จุดมุ่งหมายของการฟัง
     เวลาเราฟังเรามักไม่ทันคิดว่า เราฟังเพื่อความมุ่งหมายอะไรแต่เรารู้ว่า เมื่อเราไปฟังดนตรี เราฟังเพื่อความเพลิดเพลินและความสุขใจเป็นสำคัญ เมื่อไปฟังปาฐกถาเราอาจฟังเพื่อให้ได้รับความรู้และได้รับความเพลิดเพลินด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ดีหากเรากำหนดจุดมุ่งหมายในการฟังแต่ละครั้งแต่ละเรื่องไว้ก็จะทำให้เราตั้งใจฟังทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่ฟังและได้รับประโยชน์จากการฟังอย่างเต็มที่ เราพอจะแบ่งจุดมุ่งหมายของการฟังออกได้ดังนี้
     1)  การฟังเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
     2)  การฟังเพื่อความเพลิดเพลิน
     3)  การฟังเพื่อรับความรู้
     4)  การฟังเพื่อได้คติชีวิตและความจรรโลงใจ
 3. ประโยชน์ของการฟัง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้
ประโยชน์ต่อตนเอง
1)   การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม ในวงสนทนาหรือในสถานที่และโอกาสต่างๆ ไม่มีผู้พูดคนใดที่ชอบให้คนอื่นแย่งพูดหรือไม่ยอมฟังคำพูดของตนเอง การฟังจึงเป็นพฤติกรรมที่ช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตรทำให้เกิดความเข้าใจ  การยอมรับและความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
2)   การฟังที่ดีทำให้เราได้รู้เรื่องราวที่ฟังโดยตลอด สามารถเข้าใจข้อความสำคัญของเรื่องที่ฟังและจุดมุ่งหมายของผู้พูด
3)   การฟังที่ดีช่วยสามารถพัฒนาสมรรถภาพการใช้ภาษา ในทักษะด้านอื่น ๆ กล่าวคือการฟังช่วยให้ผู้ฟังเรียนรู้กระบวนการพูดที่ดีของคนอื่น  นับตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือประเด็นในการพูด การปรับปรุงบุคลิกภาพในการพูด และวิธีการเสนอสารที่มีประสิทธิผล
4)   การฟังที่ดีเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดสมรรถภาพทางความคิด ผู้ฟังได้พัฒนาพื้นฐานความรู้ และสติปัญญาจากการรวบรวมข้อมูลและข้อคิดต่างๆ จากการฟัง
5)   การฟังที่ดีทำให้เราได้เพิ่มศัพท์ และเพิ่มพูนการใช้ถ้อยคำภาษาได้อย่างรัดกุมและเหมาะสม ผู้ฟังจะสังเกตการใช้ศัพท์และถ้อยคำของผู้พูด  ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนโวหารจากผู้พูดแล้วจดจำ ไปเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน
ประโยชน์ต่อสังคม
    การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม ตัวอย่างเช่น การฟังการอภิปรายเรื่อง การรักษาสุขภาพ ส่วนบุคคล ผู้ฟังได้รับความรู้แนวคิดต่างๆ ในการรักษาสุขภาพจากการฟัง ถ้าผู้ฟังนำไปปฏิบัติตาม ผู้ฟังย่อมมีสุขภาพ พลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ในขณะเดียวกันสังคมนั้นจะมีสมาชิกของสังคมที่มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 4. หลักการฟัง การฟังที่ดีมีหลักสำคัญในการฟังดังนี้
      1) ฟังให้ตรงความหมาย
       2) ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
       3) ฟังเพื่อหาข้อโต้แย้ง หรือคล้อยตาม
       4) ฟังเพื่อความรู้
       ในการฟังแต่ละครั้ง อาจมีจุดมุ่งหมายในการฟังสองหรือสามประการในการฟังแต่ละครั้งดังนั้น เราจะสังเกตเห็นในการฟังแต่ละครั้งนั้น บางทีเราฟังการอภิปรายเราต้องใช้เหตุผลในการฟังคือเราต้องใช้การฟังเพื่อหาข้อโต้แย้งหรือคล้อยตามหรือการฟังสารเพื่อความจรรโลงใจเราต้องใช้เหตุผลในการฟังแตกต่างกันออกไป
5. ขั้นตอนของการฟัง มนุษย์มีกระบวนการฟัง 6 ขั้น คือ
    1)  ขั้นได้ยิน
    2)  ขั้นแยก
    3)  ขั้นยอมรับ
    4)  ขั้นตีความ
    5)  ขั้นเข้าใจ
    6)  ขั้นเชื่อ เป็นขั้นที่อยู่กับความสามารถของผู้ฟัง ที่จะตัดสินว่าประโยคหรือสิ่งที่ฟังมานั้นมีความจริงเพียงใด เชื่อถือได้เพียงใด และยอมรับได้หรือไม่ คนเรามีประสิทธิภาพในการฟังเมื่อมีกระบวนการฟังครบทุกตอน แต่กระบวนการฟังของคนเรามีไม่เท่ากัน บางคนมีกระบวนการฟังเพียงขั้นเดียว           บางคนมีกระบวนการฟังถึงขั้นที่ห้านอกจากนี้อาจอธิบายได้อีกแง่หนึ่งว่า การฟังสารที่มีประสิทธิภาพตลอดจนได้รับประสิทธิผลจากการฟังเป็นอย่างดี ผู้ฟังฟังอย่างเข้าใจฟังแล้วจับประเด็นของเรื่องได้ ตีความสารได้ประเมินค่าสารได้ เป็นต้น
6. ลักษณะการฟังที่มีประสิทธิภาพ
    1)  ฟังด้วยความสนใจ ไม่ว่าเรื่องที่ฟังจะเป็นเรื่องยาก สลับซับซ้อนอย่างไรก็ตาม
    2)  ฟังผู้พูดทุกคน โดยไม่เลือกว่าผู้พูดคนนั้นเป็นคนพูดดี หรือพูดเก่ง ให้เข้าใจความหมายที่ผู้พูดสื่อสารออกมา
    3)  ฟังโดยจับใจความ เรื่องที่ฟัง รู้ความหมายของคำพูด และความหมายที่ผู้พูดแสดงออกมาทางอากัปกิริยา ท่าทาง สีหน้าหรือนัยน์ตา
    4)  ฟังด้วยความอดทน
    5)  ฟังโดยสังเกตอย่างถี่ถ้วน
    6)  ฟังโดยไม่คิดตอบโต้ ในขณะที่ฟัง ผู้ฟังต้องฟังอย่างมีสมาธิ
    7)  ฟังโดยการไม่ถือการเล่น สำนวนเป็นใหญ่
    8)  ฟังโดยไม่ขัดคอ
    9)  ฟังเพื่อพยายามหาข้อตกลงร่วมกับผู้พูด
   10) ฟังโดยทำความเข้าใจให้ตรงกันกับผู้พูด ฟังด้วยจิตว่าง ปราศจากอคติต่อผู้พูด ฟังอย่างเข้าซึ้งถึงจิตผู้พูดและพยายามเข้าใจสารของผู้พูดอย่างชัดเจน
 7. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟัง ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
    1)  ผู้พูดมีความสามารถในการพูดได้อย่างมีประสิทธิผล
    2)  ผู้ฟังมีความศรัทธาต่อผู้พูด
    3)  ผู้ฟังเชื่อมั่นว่าการฟังเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้
    4)  ผู้ฟังไม่เป็นคนใจลอยหรือมีจิตใจฟุ้งซ่านในขณะที่ฟัง
    5)  ผู้ฟังที่เป็นชายฟังได้ดีกว่าผู้ฟังที่เป็นหญิง
    6)  สถานที่ฟังโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีและมีอุณหภูมิพอเหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นมากเกินไป
    7)  ผู้ฟังใช้ภาษาเดียวกับผู้พูดผู้ฟังจึงสามารถเข้าใจถ้อยคำภาษาของผู้พูดได้ดี
    8)  ผู้ฟังสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม และเคยฝึกฝนการพูดในโรงเรียนมาบ้างแล้ว
    9)  ผู้ฟังมีประสบการณ์ในการฟังคำอธิบายเรื่องที่มีเนื้อหายากมาบ้างแล้ว
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะมีลักษณะการฟังดังกล่าวแล้วก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องมีความเชื่อมั่นว่าเราต้องปรับปรุงสมรรถภาพ การฟังอยู่เสมอ โดยสังเกตข้อบกพร่องในการฟังด้วย และต้องแก้ไขปรับปรุงการฟังทุก ๆ ครั้ง

1 ความคิดเห็น:

  1. Best titanium tv wacky TV - TIX - Ti-Tech
    titanium alloy txt-tv › txt-tv 바카라 검증 사이트 Sep 18, 2021 — Sep 18, 2021 TIX.TV. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. ti89 titanium calculators TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. TIX. graphite titanium babyliss pro TIX. TIX. TIX. TIX. titanium trim as seen on tv TIX. TIX.

    ตอบลบ