วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทักษะการเขียน 2

การเขียนประเภทต่างๆ
            -* การเขียนจดหมาย
หลักการเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายควรยึดหลักสำคัญ ดังต่อไปนี้
ขนาดซอง

การใช้ซองขนาดมาตรฐาน ปัจจุบันที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งจะมีซองจดหมายจำหน่าย นับว่าเป็นซองที่มีขนาดเหมาะสม โดยทั่วไปมี ๒ แบบ ดังนี้
      ๑.  ซองสั้น มีขนาด ๓.๕ x ๖ นิ้ว ถึง ๔.๕ x ๗ นิ้ว
      ๒.  ซองยาวมีขนาด ๔.๒๕ x ๙ นิ้ว
การจ่าหน้าซอง
มีหลักการ ดังนี้
  ที่อยู่ของผู้รับ ต้องเรียงลำดับจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ได้แก่
   -  ที่ นามสกุลของผู้รับ ถ้าเป็นจดหมายสำคัญ เช่น มีธนาณัติสอดอยู่ด้วย ต้องระบุคำนำหน้าชื่อผู้รับ
   -  บ้านเลขที่ ซอย หรือตำบล
   -  ถนนที่ตั้ง
   -  ตำบลหรือเเขวง
   -  อำเภอหรือเขต
   -  จังหวัดและรหัสไปรษณีย์
๒. ที่อยู่ของผู้ส่ง เรียงลำดับเช่นเดียวกับผู้รับ จะเขียนไว้ด้านบนซ้ายของตนเอง
๓. คำขึ้นต้น
   -  ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว อาจใช้คำว่า "กรุณาส่ง" หรือ "นามผู้รับ"
   -  ถ้าเป็นจดหมายราชการหรือจดหมายธุรกิจนิยมใช้ "เรียน"
   -  จดหมายถึงพระสงฆ์ทั่วไปใช้ "นมัสการ"
๔. เเสตมป์ ต้องติดสเเตมป์ตามราคาที่กรมไปรษณีย์ฯ กำหนด เพราะถ้าติดไม่ครบ ผู้รับจะถูกปรับเป็น ๒ เท่าของราคาเเสตมป์ที่ขาดไป
การเขียนตามเเบบแผนที่นิยม
๑.  คำขึ้นต้น ต้องเหมาะแก่ฐานะและตำแหน่งหน้าที่
๒.  การวางรูปแบบจดหมาย ควรจัดวางให้มีสัดส่วนพอเหมาะกับหน้ากระดาษ โดยเว้นด้านหน้าประมาณ ๑ นิ้ว และเว้นด้านหลังประมาณครึ่งนิ้ว
๓.  สำนวนภาษาที่ใช้ในการเขียน ต้องคำนึงถึงความสุภาพ เขียนถูกต้องเหมาะแก่ฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
๕.  ถ้าต้องการอวยพรให้เพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ในตอนท้ายของจดหมาย ควรอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อทำให้คำอวยพรมีความขลังและสละสลวย
๖. คำลงท้าย ต้องใช้ให้ถูกต้องเเละเหมาะแก่ฐานะและบุคคล
รูปแบบของจดหมาย
๑.  รูปแบบของการวางรูปจดหมาย
     ๑.๑  ที่อยู่ของผู้เขียน อยู่ตรงมุมบนขวาของหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากประมาณกึ่งกลางหน้ากระดาษ
     ๑.๒  วันเดือนปี เขียนเยื้องที่อยู่ผู้เขียนมาข้างหน้าเล็กน้อย
     ๑.๓  คำขึ้นต้น อยู่ด้านซ้ายห่างจากขอบกระดาษประมาณ ๑ นิ้ว และเป็นเเนวชิดด้านซ้ายสุดของเนื้อความ
     ๑.๔  เนื้อความ เริ่มเขียนโดยย่อหน้าเล็กน้อย และควรขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่อขึ้นเนื้อความใหม่ นอกจากนี้ต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องด้วย
     ๑.๕  คำลงท้าย อยู่ตรงกับวันเดือนปีที่เขียน
     ๑.๖  ชื่อผู้เขียน เยื้องลงมาทางขวามือ ถ้าเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ไม่คุ้ยเคย ควรวงเล็บชื่อที่เขียนเป็นตัวบรรจงด้วย ถ้าเป็นจดหมายราชการต้องบอกยศตำแหน่งของผู้ส่งด้วย
รูปแบบของจดหมาย
                                                                                                                              (ที่อยู่ผู้เขียน)......................
                                                      (วันที่)......................(เดือน)....................(พ.ศ.)......................
(คำขึ้นต้น)...................................
(เนื้อความ)..........................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
                                                      (คำลงท้าย)...........................................
                                                       ชื่อผู้เขียน)..........................

รูปแบบของคำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย
ในการเขียนจดหมายต้องคำนึงถึงการเขียนคำขึ้นต้น คำลงท้าย และสรรพนามให้ถูกต้อง ดังนี้ผู้รับ คุณพ่อ,คุณเเม่
คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) ลูก, หนู, ผม, กระผม, ดิฉัน หรือใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพ่อ คุณเเม่
คำลงท้าย ด้วยความเคารพรักอย่างสูง
ผู้รับ ญาติผู้ใหญ่
คำขึ้นต้น กราบเท้า....ที่เคารพอย่างสูง หรือ กราบเรียน...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) หลาน, ผม, กระผม, ดิฉัน, หนู, หรือใช้ชื่อเล่นแทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณปู่, คุณย่า, คุณตา, คุณยาย, คุณลุง, คุณป้า, คุณน้า, คุณอา
คำลงท้าย ด้วยความเคารพอย่างสูง
ผู้รับ พี่หรือเพื่อนที่อาวุโสกว่า
คำขึ้นต้น เรียนคุณพี่ที่เคารพ หรือ กราบ...ที่เคารพ
สรรพนาม (ผู้เขียน) น้อง, ผม, ดิฉัน, หนู, หรืออาจใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพี่, คุณ ...
คำลงท้าย ด้วยความเคารพ, ด้วยความเคารพรัก
ผู้รับ น้อง หรือเพื่อน
คำขึ้นต้น ...น้องรัก หรือ คุณ ... ที่รัก หรือ (ชื่อเล่น) ที่รัก
สรรพนาม (ผู้เขียน) ฉัน พี่
สรรพนาม (ผู้รับ) เธอ, คุณ, น้อง
คำลงท้าย ด้วยความรัก, ด้วยความรักยิ่ง, รักเเละคิดถึง
ผู้รับ บุคคลทั่วไป
คำขึ้นต้น เรียนคุณ...ที่นับถือ หรือ เรียนผู้จัดการบริษัท ... จำกัด
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม, ดิฉัน
สรรพนาม ผู้รับ) คุณ, ท่าน
คำลงท้าย ของเเสดงความนับถือ
ผู้รับ พระภิกษุทั่วไป
คำขึ้นต้น นมัสการ...
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม,กระผม, ดิฉัน
สรรพนาม (ผู้รับ) ท่าน, พระคุณท่าน, ใต้เท้า, พระคุณเจ้า
คำลงท้าย ขอนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง
                -*การเขียนรายงานทางวิชาการ
            การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดโดยละเอียด เพื่อให้อาจารย์ผู้สั่งงานหรือผู้สนใจทั่วไปพิจารณา โดยปรกติการเขียนรายงานทางวิชาการในชั้นเรียนมีเป้าหมายสำหรับอาจารย์ผู้สอนหรือผู้สั่งงานเป็นสำคัญ ลักษณะการนำเสนอรายงาน มีรายละเอียดดังนี้
รูปแบบ การจัดทำรายงานประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1.  ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องที่ดีควรเป็นชื่อเรื่องที่กะทัดรัด บอกบรรยากาศของเนื้อหาที่ชัดเจน และมีขอบข่ายที่แน่นอน
           2. ชื่อผู้ทำรายงาน ผู้ทำรายงานอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ตามการสั่งงานของผู้สอน
3.  คำนำ คำนำของรายงาน คือข้อตกลงเบื้องต้นระว่างผู้ทำรายงานกับผู้อ่านรายงานที่จะช่วยให้การอ่านรายงานนั้นถูกต้อง และได้ผลดียิ่งขึ้น คำนำไม่ใช่ข้อแก้ตัวหรือออกตัวของผู้ทำรายงาน
            4. สารบัญ เป็นองค์ประกอบของรายงานที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อ่านรายงานได้ทราบถึงสาระภายใน และสารบัญนี้ยังช่วยให้ผู้ทำรายงานมีแนวทางในการเขียนนำเสนอของตนด้วย
           5.  บทนำ คือคำอธิบายที่บอกให้ทราบว่า การทำรายงานนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร งานค้นคว้ากว้างแคบเพียงใด ใช้วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างไร เป็นกติกาตกลงก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา
          6.  เนื้อหา คือข้อมูลทั้งปวงที่ได้จากการเลือกสรรเอาจากการศึกษาค้นคว้าทั้งหมดและได้จัดระเบียบข้อมูลที่ได้เลือกสรรแล้วนั้นเป็นอย่างดี เป็นข้อมูลที่มีความถูกต้อง กว้างขวางและลึกซึ้ง ซึ่งต่างเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นจริงหรือไม่
            เนื้อหาของรายงานที่นำข้อมูลทั้งปวงมาเสนอต้องอ้างหลักฐานที่มาให้ถูกวิธี (อ้างปนกับเนื้อหาหรือทำเชิงอรรถ ในทางมนุษยศาสตร์นิยมการอ้างแบบเชิงอรรถเพราะสามารถพิสูจน์สืบค้นหรือเข้าใจได้ง่าย)
           7. บทสรุป เป็นการสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายถึงผลการศึกษาค้นคว้าและข้อเสนอแนะ
          8.  บรรณานุกรม คือบัญชีรายชื่อแหล่งอ้างอิงข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้นๆ ซึ่งจัดเรียงไว้ตามลำดับอักษรของชื่อผู้แต่ง หรือชื่อหน่วยงานของผู้ที่เป็นเจ้าของ โดยแต่ละรายการจะบอกชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือชื่อเรื่อง บอกแหล่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์ หรือชื่อวารสาร หรือนิตยสารที่บ่งบอกเลขบอกฉบับ) บอกปีที่พิมพ์เผยแพร่ ในกรณีที่เอามาจากวารสารหรือนิตยสารให้บอกหน้าที่ข้อความนั้นปรากฏด้วย
ระดับภาษาในการเขียนรายงาน
            ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานต้องใช้ภาษาระดับมาตรฐานเป็นภาษาทางวิชาการหรือกึ่งวิชาการตามความเหมาะสม
            ภาษาแบบทางการหรือภาษาราชการ (Formal Language) ที่ใช้ในงานเขียนทางวิชาการหรืองานเขียนสำหรับพิธีการต่างๆ มีลักษณะดังนี้
  • 1. ใช้คำและข้อความที่สุภาพ ศัพท์บัญญัติ ศัพท์ทางราชการ
  • 2. ใช้คำเต็มไม่ใช้คำย่อ สำหรับตำแหน่ง ยศ คำนำหน้าหรือคำย่ออื่นๆ
  • 3. ใช้ภาษาระดับเดียวกัน ไม่ใช้ภาษาแสลงหรือภาษาถิ่น
  • 4. เขียนเป็นรูปประโยคสมบูรณ์ ไม่ตัดทอน
  • 5. ข้อเขียนเป็นทางการ เป็นกลาง เคร่งขรึม
  • 6. ไม่ใช้คำแสดงอารมณ์ โต้แย้ง เล่นสำนวนโวหาร
ลักษณะของภาษากึ่งทางการมีดังนี้ คือ
  • 1. ใช้ภาษาสุภาพที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน
  • 2. รูปประโยคอาจตัดทอนได้
  • 3. คำย่อที่เป็นที่ยอมรับก็ใช้ได้
  • 4. อาจใช้สำนวนโวหารแสดงอาการได้ แต่ไม่หยาบคาย
  • 5. ไม่เคร่งครัด อาจมีการผ่อนคลาย ตลกขบขันได้
กลวิธีในการเสนอเนื้อหา
  • 1. เมื่อจะเขียนรายงานเรื่องใดให้ศึกษาค้นคว้าเรื่องต่างๆ ที่สอดคล้องกับเชื่อเรื่องที่จะเขียน จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 2. จดบันทึกข้อความที่พาดพิงถึงเรื่องนั้นไว้อย่างเป็นระเบียบ
  • 3. จำแนกข้อมูลที่ได้ประเด็นต่างๆ แล้วจัดเข้าเป็นหมวดหมู่
  • 4. พิจารณาเลือกสรรเนื้อหาเฉพาะที่เป็นประโยชน์
  • 5. จัดระเบียบข้อมูลทั้งปวงเป็นระบบแล้วเขียนรายละเอียดข้อมูลนั้นตามลำดับความสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น