วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การอ่านออกเสียง

การออกเสียงคำที่มีอักษรนำ
          คำที่มีอักษรนำส่วนมากมักจะออกเสียงได้ถูกต้อง  แต่มีเพียงบางคำเท่านั้นที่มีปัญหาในการออกเสียง  เพราะไม่รู้หลักในการอ่านออกเสียงในคำที่มีอักษรนำ  หลักในการอ่านคำที่มีอักษรนำ  มีดังนี้การอ่านอักษรนำ
1.             คำใดที่มีอักษรสูงหรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยวให้อ่านออกเสียง พยางค์หลัง ผันเสียงตามตัวนำ เช่น ตลอด (ตะ-หลอด) ไปตลาด (ตะ-หลาด) เยี่ยมฉลาด (ฉะ-หลาด) ฉลู (ฉะ-หลู) ดูตงิด (ตะ-หงิด) ชอบขนด (ขะ-หนด) จรด (จะ-หรด)
2.             คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาล สันสกฤต เขมร ฯลฯ นำมาอ่านแบบอักษรนำตามอักขรวิธีของไทย เช่น ดิลก (ดิ-หลก) ชกอริ (อะ-หริ) ส่วนสิริ (สิ-หริ) มีกิเลส (กิ-เหลด) สลุต (สะ-หลุด)                
  คำแผลงจาภาษาเขมร  ซึ่งพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบ  พยางค์หลังจะออกเสียงวรรณยุกต์ตามเสียงวรรณยุกต์ของคำเดิม  เช่น 
                              ตรวจ          แผลงเป็น          ตำรวจ          (ตำ-หฺรวด)
                              ปราบ          แผลงเป็น          บำราบ         (บำ-หฺราบ)
                              ตริ               แผลงเป็น          ดำริ              (ดำ-หฺริ)
                              ตรัส             แผลงเป็น          ดำรัส            (ดำ-หฺรัด)

                    คำบางคำที่ไม่ได้มาจากภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมรก็มักจะมีการออกเสียงแบบอักษรนำ  เช่น
                              ยุโรป                    ออกเสียงเป็น                    ยุ-โหรบ
                              เขม็ง                     ออกเสียงเป็น                    ขะ-เหม็ง
                    คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต  บางคำไทยรับมาใช้แล้วอ่านแบบอักษรนำ  เช่น  กักขฬะ (กัก-ขะ-หฺละ)จริต  (จะ-หฺริด)เทศนา (เทด-สะ-หฺนา)สมุจเฉท (สะ-หฺมุด-เฉด)สวาหะ (สะ-หฺวา-หะ)ลักษณะ (ลัก-สะ-หนะ)

      3 . 
การใช้ ห นำอักษรเดี่ยว หรือการใช้ อ นำ ย ไม่ต้องออกเสียง ห และ อ แต่ให้ออกเสียงกลืนกันไป ตามเสียงพยัญชนะตัวนำ เช่น
อย่าอยู่อย่างอยาก
หากหวังไหม่มาก ลำบากเหลือหลาย
หนูแหวนหวือหวา จะหย่าอย่าอาย
หาแหวนหรือหวาย พ่อหม้ายใหญ่โต

.              คำที่พยางค์หน้ามีรูปสระกำกับตามหลักไม่ต้องอ่านอย่างอักษรนำ  แต่ยังนิยมอ่านแบบอักษรนำ  เช่น  ประโยชน์ (ปฺระ-โหยด)ประวัติ (ปฺระ-หวัด)ดิลก (ดิ-หฺลก)ดิเรก (ดิ-เหรก)บุรุษ (บุ-หฺรุด)บัญญัติ (บัน-หยัด)
        
  ข้อสังเกต
           1.  คำแผลงที่ไม่ใช่อักษรควบ  เมื่อแผลงเป็น 2 พยางค์  พยางค์หลังจะไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามคำเดิม  เช่น
                              ปราศ          แผลงเป็น          บำราศ          (บำ-ราด)
          2.  คำเดิมไม่ใช่อักษรควบ  เมื่อแผลงเป็น 2 พยางค์  พยางค์หลังจะไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามคำเดิม  เช่น
                              แจก  เสียงวรรณยุกต์  เอก  แผลงเป็น  จำแนก
                                                                         อ่านว่า        จำ-แนก  เสียงวรรณยุกต์โท
                              อาจ  เสียงวรรณยุกต์  เอก  แผลงเป็น  อำนาจ
                                                                                    อ่านว่า          อำ-นาด  เสียงวรรณยุกต์โท
การออกเสียงคำสมาส
คำสมาส คือ การสร้างคำขึ้นใหม่ในภาษาบาลีสันสกฤตโดยนำคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเรียงกัน การอ่านออกเสียงคำสมาสนั้นจะต้องอ่านแบบเรียงตัว คือ อ่านออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายของคำหน้า
* ลักษณะคำสมาสที่ออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายของคำหน้า
ราชการ อ่านว่า ราด-ชะ-กาน / สารคดี อ่านว่า สา-ระ-คะ-ดี / ชาติพันธุ์ อ่านว่า ชาด-ติ-พัน / นาฏการ อ่านว่า นาด-ตะ-กาน
* ลักษณะคำสมาสที่ออกเสียงไม่เนื่องกันระหว่างคำ
ชลบุรี อ่านว่า ชน-บุ-รี / ธนบุรี อ่านว่า ทน-บุ-รี / ธาตุวิเคราะห์ อ่านว่า ทาด-วิ-เคฺราะ
* ลักกษณะคำสมาสที่ออกเสียงได้ 2 แบบ
เกตุมาลา อ่านว่า เกด-มา-ลา, เก-ตุ-มา-ลา / ราชบุรี อ่านว่า ราด-บุ-รี, ราด-ชะ-บุ-รี / เพชรบุรี อ่านว่า เพ็ด-บุ
-รี, เพ็ด-ชะ-บุ-รี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น